Utainsut, P., & Teerapong, T. (2019). Effect of acceptance and commitment therapy group counseling on congruence of counselors in training. Journal of Human Sciences, 20(1), 240-270.
The purpose of this research was to study the effect of Acceptance and Commitment Therapy group counseling on the congruence of counselors in training. The research design used was the quasi experimental pretest-posttest control group design. The sample group was composed of 18 third year undergraduate counselors in training from Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University. The samples (n=18) were assigned into two groups: experimental group (n=10) and control group (n=8). The experimental group participated in Acceptance and Commitment Therapy group counseling conducted by the researcher for approximately 15 hours over 2 consecutive days. The research instruments used were Acceptance and Commitment Therapy group counseling program to develop congruence of counselors in training, the congruence inventory constructed by the researcher and the collected qualitative data. The congruence inventory was rated by two parties including the counselors in training and their clients. In addition, the qualitative data which was the participants logbook was content analysis along with the quantitative data. The data were analyzed by using Pearson correlation coefficient and t-test (dependent and independent group). To illustrate, the congruence of the data between counselors in training and their clients would be analyzed before using t-test. The results revealed that: (1) The counselors in training who participated the Acceptance and Commitment Therapy group counseling exhibited congruence significantly higher in posttest compared with pretest at the .01 level, and (2) The counselors in training who participated the Acceptance and Commitment Therapy group counseling performed congruence of the experimental group significantly higher than the control group at the .01 level.
Article in Thai.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดการบำบัดด้วยการยอมรับและพันธสัญญาต่อความสอดคล้องในตนเองของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัด แบบของการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลองที่มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยมีการทดสอบก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัด ซึ่งเป็นนักศึกษาสาขาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 18 คน นักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เข้าร่วมการวิจัยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดการบำบัดด้วยการยอมรับและพันธสัญญา โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 15 ชั่วโมง ต่อเนื่องกัน 2 วัน โดยมีผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดการบำบัดด้วยการยอมรับและพันธสัญญา เพื่อพัฒนาความสอดคล้องในตนเองของนักจิตวิทยา การปรึกษาฝึกหัด และแบบวัดความสอดคล้องในตนเองที่พัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัย ซึ่งประเมินโดยบุคคล 2 ฝ่าย ได้แก่ นักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดประเมินตนเอง และผู้รับการปรึกษาประเมินนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัด และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพร่วมด้วย โดยนำบันทึกประสบการณ์ของกลุ่มตัวอย่างหลังการดำเนินการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดการบำบัดด้วยการยอมรับและพันธสัญญามาวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการทดสอบค่าทีทั้งกรณีที่กลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน และกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน โดยหลังจากที่ได้ข้อมูลการประเมินซึ่งมีความสอดคล้องกันระหว่างนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดกับผู้รับการปรึกษาแล้วจึงนำมาทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) นักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดการบำบัดด้วยการยอมรับและพันธสัญญามีความสอดคล้องในตนเองสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดการบำบัดด้วยการยอมรับและพันธสัญญามีความสอดคล้องในตนเองของสูงกว่านักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่ไม่ได้เข้าร่วมกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01